Vincent ฮan Gogh: Shoes
คนที่ศึกษาศืลปะคงจะคุ้นเคยกับภาพรองเท้าบู้ทคู่นี้กันดี
เป็นผลงานจิตรกรรมของวินเซนต์ แวนโก๊ะในยุคแรกๆที่ยังคราบไคลอิทธิพลของศิลปะแนวน้ำตาลน้ำแสงสลัวจากอิทธิพลเรมบรันต์
ช่วงวาดภาพนี้แวนโก๊ะได้เดินทางมาอยู่ปารีสแล้ว เลือกที่พำนักที่มองมาร์ตชุมชนชานกรุงปารีสที่ชุมนุมของเหล่าศิลปิน นักเขียน นักดนตรี กวี นักปรัชญา นักการเมืองในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลึ่ยรแปลงมากมายของโลกที่กำลังจะเข้าสู่ยุคสมัยใหม่
แวนโก๊ะเดินทางมาปารีสเพื่อศึกษาศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ที่กำลังอินเทร็นด์ในขณะนั้น แต่แนวคิดของเขากำลังวิ่งล้ำหน้ากว่าหลายช่วงตัว
ภาพรองเท้าหนังคู่นี้เค้าซื้อจากตลาดมือสองที่มองมาร์ต แรกทีเดียวตั้งใจจะใส่มันอยู่ร้อก??
แต่รองเท้าคู่นี้โคตรดุ เค้าเคยเล่ากับเพื่อนศิลปินว่า
“แม่งเอ้ย มันกัดตีนกูเหมือนกับมีเศษหินอยู่ข้างใน เหมือนกูเกินย่ำบนเศษขวดแตกที่พวกขี้เมามันเขวี้ยงที่พื้นร้านเหล้าเลยนะมึง”
สุดท้ายรองเท้าคู่นี้จึงเป็นได้แค่หุ่นไว้สำหรับฝึกวาดรูปของแกเท่านั้น
แกวาดเมื่อปี 1886 แทนที่จะเป็นภาพห่วยๆที่ถูกเขวี้ยงทิ้ง ภาพนี้ได้กลายเป็นภาพสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของการเบิกศักราชศิลปะยุคใหม่
เปลี่ยนแนวคิดการวาดภาพหุ่นนิ่งแนวหรูๆดูดี กลับกลายเป็นภาพรองเท้ามือสองของชาวนาที่เปื้อนฝุนโคลน น้ำครำและขี้หมาแห้ง
น่าดูซะที่ไหน พวกขุนนางตกยากในยุคนั้นเห็นเข้าคงอ้วกใส่
แต่สำหรับนักคิดนักปรัชญายุคใหม่กลับมองว่า นี่คือสัญลักษณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญของชนชั้นรากหญ้า การพังทลายของระบบชนชั้น และการเกิดกระแสสังคมนิยม
เมื่อเร็วๆนี้ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ Wallraf Richartz เมืองโคโลญได้เปิดนิทรรศการภาพนี้พร้อมทั้งเชิญนักคิดนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงหลายคนมาชมภาพและช่วยกันเขียนคำนิยมเกี่ยวกับภาพนี้
ขอสรุปเป็นข้อความสั้นด้วยสำนวนกวนตีนดังนี้
“เมื่อมองดูภายในรองเท้าคู่นี้ มันสื่อถึงความมืดแห่งรัตติกาล รู้สึกสิ้นไร้ซึ่งความหวัง.... แต่ก้อยังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์หากปล่อยให้สายตาผูกโยงกับสายเชือกที่คลายปมจากรอยรัดดิ้นรนออกจากความมืดที่ปากรองเท้า”
แปลว่าอะไรมึงตีความกันเอาเองเหอะ
Comments